วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

sex

fwdmail

โดย นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล


เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านบทความหนึ่งที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง sex ในผู้สูงอายุ (ที่ยังหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์) ว่าการได้มี sex กับเด็กสาวอายุน้อยๆ จะทำให้ชีวิตยืนยาว สุขภาพแข็งแรง ผู้สูงอายุบางคนอาจเห็นด้วย เพราะเปรียบเสมือนการได้รับประทานผลไม้สดๆ ย่อมนำมาซึ่งความสุขสดชื่นเป็นธรรมดา แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบก็ดูเหมือนจะรุนแรงกว่าแง่บวก เนื่องจากศีลธรรมและค่านิยมของสังคม ตลอดจนเรื่องของสังขารนั้นไม่เหมาะสมโดยสิ้นเชิง

จากการที่มีข่าวคาวแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราน่าจะหันมาให้ความใส่ใจ ไม่เฉพาะในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ควรมีการใส่ใจเรื่องพฤติกรรมทางเพศในทุกๆ วัยด้วยเพื่อหาทางป้องกันและแก้ปัญหาความไม่เหมาะสมของ “วัย และ sex” หรือพัฒนาการทางเพศในแต่ละวัยครับ

พัฒนาการทางด้านร่างกายของมนุษย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับพัฒนาการทางด้านจิตใจ รวมทั้งเรื่องเพศก็เช่นเดียวกัน หลายคนเข้าใจว่าเรื่องทางเพศจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่ในความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนวัยรุ่นเสียอีก เพียงแต่มิได้ออกมาในเรื่องของกิจกรรมทางเพศ แต่ออกมาในเรื่องของการรับรู้บทบาทของตนเองว่าเป็นเพศใด เป็นต้น



วัยเด็กตอนต้นหรือวัยก่อนเข้าโรงเรียน
ถือเป็นช่วงวิกฤตครับ ถ้าใครเคยได้ยินเรื่องของปมอีดีปุส (Oedepus Complex) ซึ่งฟรอยด์ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของเด็กที่มีต่อพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกับตน โดยอาจเกิดการแข่งขัน ริษยาพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกับตน ที่ให้ความรักกับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตัวเอง

ถ้าเด็กไม่สามารถผ่านช่วงของการพัฒนาการทางจิตใจในวัยนี้ไปได้ก็อาจมีปัญหาขึ้น อาจนำมาเรื่องของพัฒนาการทางเพศและจิตใจที่ผิดปกติได้

นอกจากนี้เด็กชายยังมีความหวาดกลัวในเรื่องการสูญเสียอวัยวะเพศของตน (Castration fear) ส่วนเด็กหญิงก็มีความกังวลและอิจฉาที่ตนเองไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเพศชาย (Penis Envy) ซึ่งในวัยนี้เด็กอาจจะมีการจับต้องหรือเล่นอวัยวะเพศของตนเองบ่อยๆ อยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่ถือเป็นความผิดปกติ เพียงแต่พ่อแม่ต้องคอยชักจูงให้เด็กไปสนใจในด้านอื่นแทน ไม่ควรดุหรือทำโทษเนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาตามมาเมื่อเป็นวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ได้



วัยเด็กตอนปลายหรือวัยเรียน
เด็กจะเริ่มมองเห็นและรู้จักตนเองมากขึ้น มีการเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศอย่างกว้างขวาง โดยการเรียนรู้จากบุคคลที่ได้พบเห็นและจากการที่ได้เห็นได้ฟังจากสื่อต่างๆ และที่สำคัญคือ กลุ่มเพื่อนซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพด้วย ถ้าเกิดปัญหาในการพัฒนาการวัยนี้ อาจทำให้เด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสมตามบทบาททางเพศของตนเอง

แต่พฤติกรรมทางเพศก็มิได้แสดงออกมาอย่างโดดเด่นมากนัก โดยรวมวัยนี้ยังไม่ค่อยมีปัญหาทางเพศมากนัก เนื่องจากรูปลักษณ์ของเพศยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเด็กยังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเรียน เรื่องเล่นเป็นส่วนใหญ่



วัยรุ่น ซึ่งแบ่งเป็นวัยรุ่นตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย
วัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมถึงเรื่องทางเพศด้วย สิ่งที่ตามมาที่สำคัญคือเรื่องอารมณ์ ความคิดอ่อนไหว และแปรปรวนง่าย เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากสังคมหรือจากเพื่อนฝูงเป็นหลัก จึงแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจ

ด้วยพฤติกรรม นิสัยใจคอ และที่น่าเป็นห่วงคือการใช้ sex เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องการยอมรับด้วยเช่นกัน นำมาซึ่งปัญหามากมาย และ sex ของวัยรุ่นนี้นับวันจะเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ



มาถึงวัยผู้ใหญ่หรือวัยหนุ่มสาว
เป็นวัยที่ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นวัยแห่งการเลือกคู่ครอง (และคู่ควง) ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนคู่อยู่บ่อยๆ เมื่อยังไม่ถูกใจ มีความกังวลเรื่องรูปร่างหน้าตา การแข่งขันกันในระหว่างเพศเดียวกัน

ความจริงแล้ววัยนี้เป็นวัยสำคัญมากในเรื่อง sex เกี่ยวข้องกับชีวิตสมรสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การมี sex ที่สำส่อนไปเรื่อยๆ นอกจากทำให้ไม่สามารถมีคู่ครองที่เหมาะสมแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของความล้มเหลวในชีวิตคู่ด้วย



วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน หมายถึงช่วงอายุ40 –60 ปี หรือ 65 ปี
ซึ่งนับเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อหลังจากที่ผ่านช่วงของการหาคู่ครองมาแล้ว เป็นวัยที่เตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยชรา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงแน่นอนคือรูปร่างหน้าตาและอวัยวะภายในที่สมรรถภาพลดลงไป รวมถึงสมรรถภาพทางเพศที่ลดหย่อนลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพจิตได้ โดยเฉพาะคำว่า “วัยทอง” ที่เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง



ส่วนวัยชราหลังอายุ 60 ปีขึ้นไป
เป็นวัยที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่อง sex น้อยลง (แต่ก็น่าแปลกใจที่มีข่าวคาวๆ เกิดขึ้นอยู่บ่อย) ซึ่งในวัยนี้ถ้ายังมีปัญหาเรื่อง sex ไม่เหมาะสมอยู่ควรให้นึกถึงไว้ก่อนว่าในวัยก่อนหน้านี้ หรือพัฒนาการทางเพศของบุคคลนั้นมีความบกพร่องมานาน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ ถ้ามีอาการ “ตัณหากลับ” นั้น ให้สงสัยอีกเรื่องหนึ่งคือ อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม (Dementia) และมีการคิดการตัดสินใจในการควบคุมพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ เช่น มีความต้องการทางเพศมากเกินไป (hypersexaulity)และเกินวัย ที่เรียกว่ากลุ่มอาการแมเนีย (manic syndrome) และอาจจะตามมาด้วยคดีอาชญากรรม(ที่มักไม่ค่อยรุนแรง) เช่น อนาจาร เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: